ไฟลัมอาร์โทโพดา (Phylum
Arthropoda)
สัตว์ในไฟลัมอาร์โทโพดา มีชื่อเรียกทั่วไปว่า อาร์โทรพอด ( Arthropod) เป็นไฟลัมที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในอาณาจักรเมตาซัว
สัตว์ที่รู้จักมีประมาณ 750,000 ถึง 1 ล้านชนิด ได้แก่ แมลง แมงมุม แมงป่อง กุ้ง ลำตัวเป็นปล้องและรยางค์เป็นข้อ
ๆ มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว (Exoskeleton) ทำด้วยสารไคทินดำรงชีวิตอยู่บนบกได้อย่างสมบูรณ์
แต่บางชนิดยังคงอาศัยอยู่ในน้ำ เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอาหาร
ยารักษาโรค บางชนิดเป็นพาหะนำโรค
1. ลำตัวเป็นปล้องแบ่งได้ 3 ส่วนคือส่วนหัว (Head) ส่วนอก (Thorax) และส่วนท้อง (Abdomen)แต่บางชนิดลำตัวแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนหัวและส่วนอกเชื่อมติดกันเรียกว่า ‘เซฟาโลโทแรกซ์’(Cephalothorax) และส่วนท้อง
2. มีสมมาตรแบบข้างลำตัว
3 .รยางค์มีลักษณะเป็นข้อ ๆต่อกัน และปล้องจะมีรยางค์ 1 หรือ 2 คู่รยางค์เหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปเหื่อทำหน้าที่ต่าง ๆกัน เช่น ว่ายน้ำ เดินและรับความรู้สึก
4. มีเปลือกแข้งหุ้มลำตัว เป็นสารพวกไคทินที่สร้างมาจากเซลล์ผิวชั้นนอก เพื่อป้องกันอันตรายให้กับร่างกาย เมื่อสัตว์เหล่านี้มีการเจริญเติบโตดีมีการลอกคราบ (Molting) หลายครั้ง
5. มีระบบทางเดินอาหารที่สมบูรณ์ ประกอบไปด้วยปากทางเดินอาหารและ
ทวารหนัก
6.ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นแบบเปิด (Opened circulatory system) ประกอบด้วยหัวใจซึ่งทำหน้าที่สูบฉีดเลือดออกจากหัวใจผ่านเส้นเลือดแล้วจะไหลออกจากเส้นเลือดผ่านช่องว่างของลำตัว หรือเรียกว่าช่องลำตัว (Hemococel) ซึ่งมีอยู่ทั่วร่างกาย แล้วไหลกลับสู่หัวใจ เลือดไม่มีสีหรือสีฟ้าอ่อน ๆ เนื่องจากมีสารฮีโมไซยานิน (Hemocynin) ซึ่งมีทองแดงเป็นองค์ประกอบ
7. ระบบประสาทมีเส้นประสาทอยู่ด้านท้อง (Ventral never cord) ยาวตลอดลำตัว ที่ส่วนหัวมีระบบประสาทขนาดใหญ่ทำหน้าที่เป็นสมองและมีระบบประสาทตามข้อต่าง ๆ ของลำตัวเชื่อมต่อกับเส้นประสาททางด้านท้อง มีอวัยวะรับสัมผัสที่เจริญดี
8. ระบบขับถ่าย มีอวัยวะขับถ่ายของเสีย ที่เป็นของเหลวแตกต่างกันตามชนิดของสัตว์ เช่น พวก กุ้ง ปูแมงป่อง แมงมุม จะขับถ่ายทางต่อมโคนขา (Coxal gland) ในแมลงขับถ่ายทางท่อมัลพิเกียน (Malpighian tubules)
9. การหายใจ พวกอาร์โทพอด ที่อาศัยอยู่ในน้ำจะหายใจโดยใช้เหงือก (Gill) ส่วนพวกที่อาศัยอยู่บนบกจะหายใจโดยใช้ท่อแผงลมปอด (Book lung)
10. มีช่องลำตัวอย่างแท้จริง และเปลี่ยนแปลงไปเป็นช่องเลือดและให้เลือดผ่านได้ ในระบบหมุนเวียนโลหิต
11. การสืบพันธุ์ สัตว์ในไฟลัมนี้ส่วนใหญ่แยกเพศ มีการปฏิสนธิภายในร่างกาย ออกลูกเป็นไข่ (Oviparous) แต่บางชนิดอออกเป็นตัว ( Ovoviviparous) การเจริญเติบโตของตัวอ่อนเป็นตัวเต็มวัยมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (Metamorphosis) เป็นระยะ สัตว์บางชนิดไข่สามารถเจริญเป็นตัวได้โดยไม่ได้รับการผสมจากตัวผู้เรียกว่า พาร์ทีโนเจนีซีส ( Parthenogenesis) ได้แก่ ผึ้ง ไรน้ำ
1. ลำตัวเป็นปล้องแบ่งได้ 3 ส่วนคือส่วนหัว (Head) ส่วนอก (Thorax) และส่วนท้อง (Abdomen)แต่บางชนิดลำตัวแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนหัวและส่วนอกเชื่อมติดกันเรียกว่า ‘เซฟาโลโทแรกซ์’(Cephalothorax) และส่วนท้อง
2. มีสมมาตรแบบข้างลำตัว
3 .รยางค์มีลักษณะเป็นข้อ ๆต่อกัน และปล้องจะมีรยางค์ 1 หรือ 2 คู่รยางค์เหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปเหื่อทำหน้าที่ต่าง ๆกัน เช่น ว่ายน้ำ เดินและรับความรู้สึก
4. มีเปลือกแข้งหุ้มลำตัว เป็นสารพวกไคทินที่สร้างมาจากเซลล์ผิวชั้นนอก เพื่อป้องกันอันตรายให้กับร่างกาย เมื่อสัตว์เหล่านี้มีการเจริญเติบโตดีมีการลอกคราบ (Molting) หลายครั้ง
5. มีระบบทางเดินอาหารที่สมบูรณ์ ประกอบไปด้วยปากทางเดินอาหารและ
ทวารหนัก
6.ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นแบบเปิด (Opened circulatory system) ประกอบด้วยหัวใจซึ่งทำหน้าที่สูบฉีดเลือดออกจากหัวใจผ่านเส้นเลือดแล้วจะไหลออกจากเส้นเลือดผ่านช่องว่างของลำตัว หรือเรียกว่าช่องลำตัว (Hemococel) ซึ่งมีอยู่ทั่วร่างกาย แล้วไหลกลับสู่หัวใจ เลือดไม่มีสีหรือสีฟ้าอ่อน ๆ เนื่องจากมีสารฮีโมไซยานิน (Hemocynin) ซึ่งมีทองแดงเป็นองค์ประกอบ
7. ระบบประสาทมีเส้นประสาทอยู่ด้านท้อง (Ventral never cord) ยาวตลอดลำตัว ที่ส่วนหัวมีระบบประสาทขนาดใหญ่ทำหน้าที่เป็นสมองและมีระบบประสาทตามข้อต่าง ๆ ของลำตัวเชื่อมต่อกับเส้นประสาททางด้านท้อง มีอวัยวะรับสัมผัสที่เจริญดี
8. ระบบขับถ่าย มีอวัยวะขับถ่ายของเสีย ที่เป็นของเหลวแตกต่างกันตามชนิดของสัตว์ เช่น พวก กุ้ง ปูแมงป่อง แมงมุม จะขับถ่ายทางต่อมโคนขา (Coxal gland) ในแมลงขับถ่ายทางท่อมัลพิเกียน (Malpighian tubules)
9. การหายใจ พวกอาร์โทพอด ที่อาศัยอยู่ในน้ำจะหายใจโดยใช้เหงือก (Gill) ส่วนพวกที่อาศัยอยู่บนบกจะหายใจโดยใช้ท่อแผงลมปอด (Book lung)
10. มีช่องลำตัวอย่างแท้จริง และเปลี่ยนแปลงไปเป็นช่องเลือดและให้เลือดผ่านได้ ในระบบหมุนเวียนโลหิต
11. การสืบพันธุ์ สัตว์ในไฟลัมนี้ส่วนใหญ่แยกเพศ มีการปฏิสนธิภายในร่างกาย ออกลูกเป็นไข่ (Oviparous) แต่บางชนิดอออกเป็นตัว ( Ovoviviparous) การเจริญเติบโตของตัวอ่อนเป็นตัวเต็มวัยมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (Metamorphosis) เป็นระยะ สัตว์บางชนิดไข่สามารถเจริญเป็นตัวได้โดยไม่ได้รับการผสมจากตัวผู้เรียกว่า พาร์ทีโนเจนีซีส ( Parthenogenesis) ได้แก่ ผึ้ง ไรน้ำ
# อย่าเพิ่งเหนื่อยอ่านกันนะค่ะ : )'
ปูพิงค์ยังอธิบายไม่หมดเลย ๆ 555555
การจัดจำแนกหมวดหมู่ของอาร์โทรพอด
สัตว์พวกอาร์โทพอดสามารถจำแนกออกได้ 3ซับ
ไฟลัม ดังนี้
1. ซับไฟลัมไทรโลบิตา ( Subphylum Trilobita) สัตว์ในซับไฟลัมนี้
ได้แก่ ไทรโลไบท์ ( Trilobite)ได้สูญพันธุ์ไปประมาณ 200 ล้านปีมาแล้ว พบซากดึกดำบรรพ์ติดอยู่กับก้อนหินเป็นซากที่ค่อนข้างสมบูรณ์
ไทรโลไบท์ เป็นสัตว์ที่มี่ลำตัวเป็นรูปไข่แบ่งเป็นป้องประมาณ20 ปล้อง แต่ละปล้องจะมีขาเดิน 1 คู่
ด้านหลังมีร่องตามยาวข้างละร่องทำให้แบ่งตัวออกเป็น 3 ส่วน ผิวตัวแข็งมีคิวทิเคิลปกคลุม บางบริเวณจะมีแคลเซียมคาร์บอนเนตสะสมอยู่ด้วย
มีหนวด 1 คู่ มีตารวม 1 คู่ มีขนาดตั้งแต่ 2-67เซนติเมตร
2. ซับไฟลัมซิแลนเตอราตา (Subphylum Chelicerata) เป็นสัตว์ที่มีลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ลำตัวส่วนหน้าจะเป็นลำตัวเชื่อมกับส่วนอก เรียกส่วนนี้ว่าโปรโซมา (Prosoma) ลำตัวส่วนท้ายเรียกว่า พีดีพาลพ์ (Pedipalp) มีขนาดใหญ่และยาวกว่ารยางค์คู่แรก ทำหน้าที่ฉีกอาหาร ส่วนรยางค์ที่เหลืออีก 4 คู่จะเป็นขาสำหรับเดิน สัตว์ในพวกนี้ไม่มีหนวด ไม่มีเขี้ยว หายใจโดยใช้ท่อลม หรือใช้แผงปอด อวัยวะขับถ่ายมีหลายชนิดสัตว์ในบางชนิดใช้ต่อมเขียว ต่อมโคนขาหรือท่อมัลลพิเกียน จำแนกออกได้3 ชั้น ดังนี้
...........-ชั้นโมโรสเตอมาตา (Class
Merostomata) เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล บริเวณน้ำตื้น
ได้แก่ แมงดาทะเล (Horseshoes crab) ซึ่งเป็นโปรโซมาเป็นแผ่นกว้างรูปครึ่งวงกลมคล้ายเกือกม้า
มีส่วนลำตัวที่ยื่นยาวออกไปเป็นหาง อาจมีหางกลมหรือหางสามเหลี่ยม โปรโซมีรยางค์ 6 คู่ ประกอบด้วย คีลิเซอรา 1 คู่ เพลิพาลพ์ 1 คู่ และขาเดิน 4 คู่
ลำตัวส่วนท้ายเรียกว่า โอพิสโซมา จะยึดติดกับโปรโซมา โดยมีกล้ามเนื้อยึดเอาไว้
จึงทำให้ส่วนนี้ขยับขึ้นลงได้ บริเวณขอบทั้งสองข้างจะมีหนามข้างละ 6 อัน หนามนี้จะเคลื่อนไหวได้ ทำหน้าที่รับความรู้สึก ด้านท้องมีรยางค์ 2 ชนิดประกอบด้วยแผ่นสืบพันธุ์ 1 แผ่น
ซึ่งมีรูเปิดของอวัยวะสืบพันธุ์ (Genital operculum ) และแผ่นเหงือกอีก 5 คู่ (Gill flaps) มีตาประกอบ 1 คู่ มีต่อมที่โคนขา เป็นอวัยวะที่ขับถ่าย เป็นสัตว์ที่แยกเพศ
การปฏิสนธิเกิดภายนอกร่างกาย แมงดาทะเลที่พบมี 2 ชนิดคือ
แมงดาจาน (Trechypleus gigas) รูปร่างมีขนาดใหญ่และหางยาวเป็นรูปสามเหลี่ยม
ไม่มีพิษบริโภคได้ ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ แมงดาถ้วยหรือเหรา (Carsinoscorpius
rotuncdicaute) มีขนาดเล็กว่าแมงดาจาน มีหางกลม มีพิษ
ไม่ควรบริโภค
..........-ชั้นอะแรชิดา (Class
Archinda) เป็นสัตว์ที่มีมากที่สุดในซับไฟลัมซีแลนเตอราตามีประมาณ70,000 ชนิด เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนบก
มีทั้งชนิดที่ดำรงชีวิตแบบปรสิตและแบบอิสระ ลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ โปรโซมา และ โอพิสโทโทโซมา โปรโซมามีรยางค์ 6 คู่ ประกอบด้วย คีลีเซอรา 1 คู่
เพดิพพลาสพ์
3 .ซับไฟลัมแมนดิบูลาตา (Subphylum Mandibulata) เป็นสัตว์ที่มีลำตัวแบ่งเป็น 2 ส่วน หรือ 3ส่วน มีส่วนของปากเจริญดี มีขากรรไกร (Mandible) 1 คู่ และกราม (Maxilla) 2 คู่ เป็นซับไฟลัมที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด จำแนกออกได้ 6 ชั้น ดังนี้
........-) ชั้นครัสเตเชีย (Class Crustacea) สัตว์ในชั้นนี้ลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เซฟาโลโทรแรกว์ และส่วนท้อง ด้านบนของเซฟาโลโทรแรกซ์จะมีเปลือกแข็งหุ้มเรียกว่าคาราเฟส (Carapace) ส่วนด้านล่างของเซฟาโลโทรแรกซ์ตอนต้นจะมีรยางค์ 5คู่ ประกอบด้วยหนวด 2 คู่ ขากรรไกร 1คู่ และกราม 2 คู่ เซฟาโลโทรแรกซ์ ตอนปลายจะมีรยางค์ 8 คู่ เป็นขาเดินและใช้ช่วยจับเหยื่อ ส่วนท้องมีรยางค์ 6 คู่ เป็นขาสำหรับว่ายน้ำ มีตาประกอบ หายใจโดยใช้เหงือก ดำรงชีวิตเป็นอิสระอาศัยอยู่ในน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำทะเล เป็นสัตว์ที่แยกเพศ การปฏิสนธิเกิดภายในร่างกายการเจริญเติบฌตของตัวอ่อน มีการลอกคราบหลายครั้ง สัตว์ในคราสนี้ได้แก่ กุ้ง กั้ง (Squilla) ปู เพรียงหิน (Rock barnacle) เพรียงคอห่าน (Goose barnacle) ไรน้ำ จั๊กจั่นทะเล (Hippa) และตัวกะปิ (Oniscus)
.......-) ชั้นไดโพลโพดา (Class
Diplopoda) เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามพื้นดิน พบอยู่ตามกองไม้ผุ
ๆ บางชนิดอาจขุดรูอยู่ใต้ดินตื้น ๆ
ร่างกายมีลักษณะเป็นทรงกระบอกแบ่งเป็นปล้องชัดเจน ประกอบไปด้วยส่วนหัว อก และท้อง
ส่วนนอกและท้องเชื่อมติดต่อกันเรียกว่า ลำตัว (Trunk) ส่วนหัวมีหนวด 1 คู่ ขากรรไกร 1 คู่ กราม 1 คู่ และตาเดียว 1 คู่
ส่วนของลำตัวประกอบไปด้วยส่วนอก 4 ปล้อง
แต่ละปล้องจะมีรยางค์ 1 คู่
ต่อจากส่วนอกจะเป็นส่วนท้องซึ่งประกอบด้วยปล้องประมาณ 25-100 ปล้อง แต่ละปล้องจะมีรยางค์ 2 คู่
เป็นขาเดิน จึงเรียกสัตว์พวกนี้ว่า มิลลิพีด (Millipede) ซึ่งหมายถึงสัตว์ที่มีขาจำนวนมาก
สัตว์พวกนี้จะหายใจในท่อลมขับถ่ายทางท่อมัลพิเกียน
เป็นสัตว์ที่แยกเพศปฏิสนธิภายในร่างกาย สามารถม้วนตัวขดเป็นวงได้
ตัวอย่างของสัตว์ในคราสนี้ได้แก่ กิ้งกือ (Milllipede)กระสุนพระอินทร์
(Glomeris)
.......-) ชั้นไคโลโพดา (Class
Chilopoda) เป็นสัตว์ทีอาศัยอยู่ตามพื้นดินบริเวณที่ชื้น ๆ
มักพบอยู่ใต้ก้อนหิน ใต้กองใบไม้ผุ เป็นสัตว์ที่มีลำตัวแบนยาวทางด้านบนและด้านล่าง
แบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วนหัวกับส่วนลำตัว ที่หัวมีหนวด 1 คู่ มีรยางค์เป็นลักษณะเหมือนเขี้ยว มีต่อมพิษ
ปล้องลำตัวแต่ละปล้องมีรยางค์ 1 คู่
มีรยางค์ลักษณะเหมือนเขี้ยว มีต่อมพิษ ปล้องลำตัวแต่ละปล้องจะมีรยางค์ 1 คู่ เป็นขาเดิน ยกเว้นปล้องสุดท้ายไม่มีรยางค์
เป็นสัตว์ที่เคลื่อนที่ได้เร็ว อาจมีตาเดียวหรือตาประกอบ 1คู่ หายใจทางท่อลม ขับถ่ายทางท่อมัลพิเกียน
เป็นสัตว์ที่แยกเพศปฏิสนธิภายในร่างกาย ตัวอย่างสัตว์ในชั้นนี้ได้แก่ ตะขาบ
(Centipede)
.......-) ชั้นซิมไฟลา (Class
Symphyla) เป็นสัตว์ที่รูปร่างคล้ายตะขาบแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก
ลำตัวยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีปล้องประมาณ 12 ปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์ 1 คู่
เป็นขาเดิน ส่วนหัวจะมีหนวดยาว 1 คู่ ไม่มีตา
เป็นสัตว์ที่แยกเพศ ปฏิสนธิภายในร่างกาย
ชอบอาศัยอยู่ในดินที่ชื้นมีเศษใบไม้เน่าเปื่อยผุพังปนอยู่
ตัวอย่างสัตว์ในชั้นนี้ได้แก่ ตะขาบดินหรือตะขาบฝอย (Garden centipede)
.......-) ชั้นพอโรโพดา (Class Pauropoda) เป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายกิ้งกือ แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ลำตัวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร แบ่งเป็น 2ส่วน คือส่วนหัวกับส่วนลำตัว ส่วนหัวมีหนวด 1 คู่เป็นขาเดิน ส่วนหัวจะมีหนวดยาว 1 คู่ หนวดจะแยกเป็น 3 แฉก ไม่มีตา ลำตัวมี 11 ปล้อง ปล้องแรกและปล้องสุดท้ายไม่มีรยางค์ ส่วนปล้องอื่น ๆ จะมีรยางค์ปล้องละ 2 คู่ ใช้เป็นขาเดิน มีอวัยวะรับความรู้สึกเป็นขนเล็ก ๆ อยู่ที่เปลือกด้านหลัง เป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม มีสีขาวแยกเพศ ตัวเมียจะวางไข่ในดิน ตัวอย่างสัตว์ในชั้นนี้ได้แก่ กิ้งกือดิน (Soil Millipedes)
.......-) ชั้นอินเซกตา (Class Insecta) เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก ได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ ซึ่งอาร์โทพอดที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก ซึ่งมีมากกว่า 750,000 ชนิด มีการดำรงชีพแบบปรสิตและอิสระ เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมาก เนื่องจากแมลงบางชนิดเป็นภาหะนำโรค เป็นปรสิตของคนและสัตว์เลี้ยงและเป็นศัตรูทำลายพืชผลการเกษตร แมลงมีลักษณะที่สำคัญคือ ร่างกายแบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนหัวส่วนอก และส่วนท้อง ส่วนหัวจะมีหนวด 1 คู่ มีตาประกอบ 1คู่ มีปากซึ่งประกอบไปด้วยริมฝีปากบน ขากรรไกร กราม และริมฝีปากล่าง แมลงแต่ละชนิดจะพัฒนาดัดแปลงลักษณะของปากแตกต่างกันไปเพื่อให้เหมาะสมกับการกินอาหาร ส่วนอกแบ่งเป็น 3ปล้อง แต่ละปล้องจะมีขา 1 คู่ รวมเป็น 3 คู่ หรือ 6 คู่มีปีก 1 คู่ หรือ 2 คู่ อยู่ที่ส่วนอกปล้องที่ 2 และ3 ปีกแมลงมีลักษณะเป็นแผ่นมีขนาดรูปร่างเส้นปีกแตกต่างกันไป แมลงบางชนิดอาจไม่มีปีก หายใจทางท่อลม ขับถ่ายทางท่อมัลพิเกียน เป็นสัตว์แยกเพศ การปฏิสนธิเกิดภายในร่างกาย ตัวอ่อนเกิดจากการเจริญเติบโตโดยการลอกคราบหลายครั้ง ส่วนใหญ่การเจริญที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ตัวอย่างสัตว์ในชั้นนี้ได้แก่ แมลงทุกชนิด เช่น ผีเสื้อ แมลงปอ แมลงวัน ยุงปลวก ผึ้ง ต่อ แตน มด ตั๊กแตน แมลงสาบ เหา และไรไก่ เป็นต้น
# หลบไป ยัยพิงค์
ยัยน่าเกียดดดดดดดด : ('
ไม่มีใครอธิบายได้ดีเท่าคนสวยอย่างฉันอีกแล้ว อิอิ
#รู้จักกับปูเย็นโล่ได้ในหน้าต่อไปนะค่ะ ทุ๊กคนนน ~
ได้ความรู้เยอะมากๆ ขอบคุณนะคะ
ตอบลบถิ่นกำเนิดคืออะไรคับ
ตอบลบ